แชร์

"แต้ว ณฐพร" ย้ำ! อันตราย "ไข้เลือดออก" ชวนคนไทยร่วมป้องกัน-เสริมภูมิคุ้มกัน ลดอัตราการเจ็บป่วย

อัพเดทล่าสุด: 17 มิ.ย. 2024
122 ผู้เข้าชม
"แต้ว ณฐพร" ย้ำ! อันตราย "ไข้เลือดออก" ชวนคนไทยร่วมป้องกัน-เสริมภูมิคุ้มกัน ลดอัตราการเจ็บป่วย

เคยป่วยหนักเข้าโรงพยาบาลเกือบเดือนเพราะโรคไข้เลือดออกมาแล้ว "แต้ว-ณฐพร เตมีรักษ์" เลยมาร่วมแชร์ประสบการณ์การป่วยหนักจากไข้เลือดออกในอดีต พร้อมแนะนำและเชิญทุกคนร่วมกันเฝ้าระวัง ดูแลตัวเองจากโรคไข้เลือดออก ในงาน "วันไข้เลือดออกอาเซียน 2567" หรือ "ASEAN Dengue Day 2024" นำโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกรุงเทพมหานคร บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด และเหล่าพันธมิตร โดยงานในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด Dengue Heroes towards Zero Death ร่วมกันเป็น "เดงกี่ ฮีโร่" นำพาประเทศไทยสู่สังคมปลอดไข้เลือดออก

"แต้วเคยแอทมิทเข้าโรงพยาบาลรักษาตัวนานอยู่เกือบเดือนเลยค่ะ อาการตอนนั้นรุนแรงกว่าที่คิด ไข้ไม่ลดไม่ตอบสนองต่อยาลดไข้เลย ถึงขั้นที่ต้องใช้น้ำแข็งเช็ดตัว ยังจำเหตุการณ์ตอนนั้นได้ดีเลยค่ะ คาดไม่ถึงเลยว่า เพียงยุงตัวเล็ก ๆ ก็สามารถทำให้เราป่วยเข้าโรงพยาบาลได้ ในฐานะประชาชน แต้วคิดว่าการที่เรามีความตระหนักรู้ในเรื่องโรคและการป้องกันถือเป็นด่านแรกในการลดอัตราการเป็นโรคนี้ได้ การร่วมด้วยช่วยกัน บอกต่อและแชร์ความรู้ให้กับคนใกล้ตัวเป็นการเริ่มต้นที่ดี อาจเริ่มจากอะไรง่าย ๆ อย่าง พกยากันยุง ทำตามมาตรการ 5 ป. 1 ข. และ 3 ก. ได้แก่ 5 ป. ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับปรุง ปฏิบัติ เพื่อปราบยุงลาย 1 ข. ขัดทำความสะอาดภาชนะบรรจุน้ำ และ 3 ก. เก็บขยะ เก็บบ้าน เก็บน้ำ หรืออีกหนึ่งทางเลือกคือการฉีดวัคซีนเพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ที่ป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ทั้ง 4 สายพันธุ์ และสามารถลดอัตราการนอนโรงพยาบาลได้ 80%-90%* แต้วก็อยากให้ทุกคนดูแลตัวเองแล้วก็ช่วยกันดูแลครอบครัวเพราะไข้เลือดออกเกิดขึ้นได้กับทุกคน เราทุกคนต้องร่วมมือกัน เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคนี้ค่ะ" แต้ว-ณฐพร กล่าว

โดยในปี 2567 นี้กระทรวงสาธารณสุข ได้คาดการณ์ยอดผู้ป่วยไข้เลือดออกในประเทศไทยอาจพุ่งสูงขึ้น อันเนื่องมาจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่ส่งผลต่ออุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน และความชื้นมวลรวมเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อการเพิ่มจำนวนขึ้นของยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก ผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสมในประเทศไทย ตั้งแต่เดือน มกราคม-พฤษภาคม 2567 เข้าใกล้ 30,000 ราย มียอดผู้เสียชีวิต 29 ราย และคาดการณ์ว่าอาจสูงถึง 280 รายในปีนี้ เพิ่มสูงสุดในรอบ 5 ปี

*คำแนะนำการให้วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ โดยสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2566

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy